Myself

Hi   My name is Hathaiphed Phudphad
My nickname is Ja
English03   5311114090

Innovative Educational Technology in the Global Classroom


 Innovative Educational Technology in the Global Classroom




  เทคโนโลยีใหม่ๆ ในห้องเรียนระดับโลก
 

(Innovative Educational Technology in the Global Classroom)
 โลกาภิวัตน์และนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาของครู ESOL และ ครู TESOL เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการปฏิบัติทางการศึกษา "เมื่อ สร้างงานเทคโนโลยีแบบบูรณาการครูควรพิจารณาสิ่งที่พวกเขาต้องการให้นักเรียน ที่จะเรียนรู้จากมันในแง่ของทั้งเทคโนโลยีและเนื้อหาทางวิชาการ." ซึ่งหมายถึงครูผู้สอนควรสร้างและปลูกฝังการเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียน ภาษาเพื่อที่จะทำให้พวกเขา ครูผู้สอนจำเป็นต้องรู้วิธีที่จะใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนในการสอนนักเรียน 

การบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน
การบูรณาการเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน ครูควรพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการให้เด็กเรียนรู้ ทั้ง ด้านเทคโนโลยีและเนื้อหาด้านวิชาการ และเป็นสิ่งสำคัญเพื่อทบทวน วัตถุประสงค์ ขั้นตอน และการประเมินผลงาน 

กรณีศึกษาของผู้เรียนภาษา (The ELL Case study)
      ในการเรียนการสอนจะประกอบด้วย นักเรียนและครูสนทนากันเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆในชีวิตจริง เพื่อที่จะให้ครูได้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับผู้เรียน ครูสามารถตรวจสอบภาษาศาสตร์ และความรู้เดิมทางวัฒนธรรม การออกแบบสถานการณ์จำลองการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และการแก้ปัญหาทางภาษาที่แท้จริง การสร้างภาษาอังกฤษเป็นศูนย์กลางของแหล่งภาษาอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ เพื่อนร่วมงาน ครู และพ่อแม่ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
 1.     เตรียมความพร้อมกรณีศึกษาโดยการเลือกผู้เข้าร่วมการเรียนภาษาอังกฤษและการทบทวนกรณีศึกษาผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษ
     2.     การเก็บรวบรวบข้อมูลจากกรณีศึกษาผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษ
     3.     การวิเคราะห์ข้อมูล
     4.     การสร้างสถานการณ์ที่สามารถแก้ปัญหาได้
การเขียนบล็อก (Blogging)
      การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับกรณีศึกษาซึ่งกลายเป็นบันทึกออนไลน์ของนักเรียน ซึ่งจะอัปโหลดลงเว็บบล็อก อาจเป็นข้อความภาพกราฟิกไฟล์ PDF, รูปภาพลิงค์เกี่ยวกับบล็อกต่างๆ
Podcasting
       หลังจากที่นักเรียนมีบล็อกแล้ว พวกเขาก็จะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Podcasting ได้แก่
การใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นโปรแกรมเสียงสำหรับการดาวน์โหลด สามารถเล่นเสียงด้วยคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่น MP3
Creating a Wiki
      การสร้างแหล่งข้อมูล (Creating a Wiki) จะทำหลังมีบล็อก ซึ่งครูผู้สอนจะเป็นคนแนะนำวิธีการสอนและกิจกรรมที่ให้เพื่อนร่วมชั้นของพวกเขาผ่านทางวิกิพีเดียในกระดานดำ (http://www.blackboard.com)
Online Discussion
      สนทนาทางออนไลน์ (Online Discussion) จะสนทนาผ่านทางกระดานข้อความ
เคล็ดลับสำหรับการบูรณาการเทคโนโลยีในห้องเรียน
ต้องกล้าเสี่ยงกับเทคโนโลยีใหม่
ต้องคุ้นเคยกับเทคโนโลยีก่อนที่จะแนะนำให้ผู้อื่น
สร้างชุมชนการเรียนรู้ในเชิงบวก
               ค้นหาและใช้บทเรียนต่างๆและเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์

Learning Log



Learning Log






Learning reflection on lessons or lesson summar

On June 1st2012
         
       อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนตลอดภาคเรียนและชี้แจงรายละเอียดต่างๆ มีการเรียนการสอนเรื่อง “Innovation Education Technology in the global Classroomซึ่งอาจารย์อธิบายเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าดังนี้ “ในโลกโลกาภิวัฒน์และนวัตกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการที่ครูต้องผู้ที่ริเริ่มและสร้างสรรค์ตามให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งครูต้องใช้เทคโนโลยีในทางการศึกษาซึ่งมีอักษรย่อที่สำคัญในการเรียนบทนี้” เช่น
ESOL =    English for speakers of other   Languages
PDF =   Portable   Document Format (Adobe Acrobat)
EFL = English as a foreign   Languages เป็นต้น
หลังจากนั้นอาจารย์สอน “ การออกแบบข้อสอบโดยใช้โปรมแกรม Microsoft office word ซึ่งต้องใช้เครื่องมือ นักพัฒนา” และปุ่มที่สำคัญต้องใช้มีดังนี้         
1. การใช้ปุ่มเครื่องมือแบบเลือกตอบ
2. การใช้ปุ่มเครื่องมือแบบเติมคำ
3. การใช้ปุ่มเครื่องมือแบบเลือกตอบ (Multiple choices)   

On June 8th2012
     อาจารย์ให้อ่านบทความ On the problem and Strategies of Multimedia Technology in English Teaching” หมายถึงปัญหาและกลยุทธ์ของเทคโนโลยีสื่อประสมในการสอนภาษาอังกฤษ และอาจารย์ได้แบ่งหัวข้อและให้แต่ละกลุ่มออกแบบมานำเสนอ สำหรับหัวข้อมีดังนี้                                                           
     1. Analysis on necessity of multimedia technology to English 

teaching. 
     2. Analysis on Problems Arising from application of multimedia 

technology to English teaching.
     3. Suggestions and Strategies to the existing Problem.

On June 15th2012
     การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ สอนเรื่อง Blog สอนในการเปลี่ยน Template การตกแต่งสีการใส่นาฬิกาปฏิทินแทรกวีดีโอเพิ่มบทความเพิ่มชื่อเพื่อนในห้อง สำหรับการแทรกวีดีโอ จะเกี่ยวกับ การสอนภาษาอังกฤษ ต้องใช้ในการฝังจาก YouTube และ Copy Code มายังรูปแบบ blog ของตนเอง

 On June 22nd2012
          สำหรับในวันนี้อาจารย์สอนการทำ  Link บทความไปยังหน้า Websites ต่างๆ โดยใช้“Recent posts” ซึ่งเป็นตัวแสดงชื่อของบทความที่ใส่ไปใน Blog และอาจารย์บอกรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใส่ใน blog

On June 29th2012
      ในวันนี้อาจารย์มีธุระจึงไม่ได้มาสอน จึงให้นางสาววราภรณ์   หยั่งหลัง มาสอนการตกแต่งPhotoshop อย่างง่ายๆ เพื่อที่จะมาใส่ใน Blog

On July 6th2012
      อาจารย์เริ่มสอน CAI โดยต้องใช้ Program Adobe Captivate 5 ซึ่งจะเกริ่นนำก่อนใช้โปรแกรมนี้ อาจารย์ เปิดตัวอย่าง การออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและอธิบายเกี่ยวการทำ Story board ซึ่งต้องพับกระดาษครึ่ง A4

On July 7th2012                                                                                    
      อาจารย์สอนเรื่อง CAI วันนี้อาจารย์ออกแบบหน้าจอ (หน้าแรกข้อความต้อนรับเข้าสู่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” ให้ตั้งวัตถุประสงค์หรือ Objectives มีจำนวนอย่างน้อย 2- 3 ข้อ 

On July 20th2012
        วันนี้ อาจารย์สอนในเรื่องของการทำให้รูปภาพ / ตัวอักษรขึ้นเวลาใช้เมาส์ไปชี้ อาจเป็นการใช้ในเรื่องของคำศัพท์

On July 27th2012
      อาจารย์สอนการใส่เสียงใน CAI ก่อนอื่นต้องหารูป หูฟัง หา File ที่เก็บเสียงอาจารย์ เช่นperfect, excellent, etc… เมื่อกด F8 เอาเมาส์ชี้ที่ หูฟังเสียงก็จะดังขึ้น การออกแบบข้อสอบแบบเลือกตอบ ซึ่งต้องมีการตั้งค่า ที่ผู้เรียนสามารถตอบได้เพียงคำตอบเดียว, ตอบให้ถูกต้องก่อนไปทำข้ออื่น การทำข้อความแสดงต้องการออกจากโปรแกรม (เมื่อกด Exit จะมีการใช้คำถาม Are you want to quit?”และมี คำว่าYES / NO ด้วย)

On August 17th, 2012
            อาจารย์เรื่องการสร้าง quiz โดยไม่ต้อง score ในquiz แต่โชว์ score ใน pre-testและ post-testเท่านั้น และอาจารย์สอนการเพิ่ม objectives ควรมีบทนำในบทเรียน CAI ว่ามีประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไรบ้าง ในรายงานมีส่วนประกอบอะไรบ้าง อาจมีไฟล์ที่เป็น video การนำบทเรียน CAI ไปใช้จริง


On  September14th, 2012

       อาจารย์สอนการ publish แบบไฟล์ flash (SWF) ที่ง่ายกว่า แบบ Media และการทำslide ที่เป็นหน้า Welcome และหน้า slide สำหรับให้นักเรียนลงชื่อเข้าใช้บทเรียน CAI

  

Exercise: acronyms 2


Directions: Describe the following terms.
Synchronous Tools
Asynchronous Tools

 1. Synchronous - ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน เป็นการเรียนแบบเรียลไทม์ เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง เช่นห้องเรียนที่มีอาจารย์สอนนักศึกษาอยู่แล้วแต่นำไอทีเข้ามาเสริมการสอน
 2 . Asychronous- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกันไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียนเป็นการเรียนด้วยตนเองผู้เรียน เรียนจากที่ใดก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไป ยังโฮมเพจเพื่อเรียน ทำแบบฝึกหัดและสอบ มีห้องให้สนทนากับเพื่อร่วมชั้นมีเว็บบอร์ดและอีเมล์ให้ถาม คำถามผู้สอน แต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
          ข้อดี ของ Synchronous คือ ได้บรรยากาศสด ใช้กับกรณีผู้สอนมีผู้ต้องการเรียนด้วยเป็นจำนวนมาก และสามารถประเมินจำนวนผู้เรียนได้ง่าย
          ข้อเสีย ของ Synchronous คือ กำหนดเวลาในการเรียนเองไม่ได้ต้องเรียนตามเวลาที่กำหนดของคน กลุ่มใหญ่
          ข้อดี ของ Asynchronous คือ ผู้เรียน เรียนได้ตามใจชอบ จะเรียนจากที่ไหน เวลาใด ต้องการเรียน อะไรหรือให้ใครเรียนด้วยก็ได้
          ข้อเสีย ของ Asynchronus ไม่ได้บรรยากาศสด การถามด้วย chat หรือเว็บบอร์ดอาจไม่ได้รับการตอบ กลับ E – learning ในสถานศึกษา สามารถใช้ได้กับสถานศึกษา เริ่มจากที่มหาวิทยาลัย อาจารย์ให้นักศึกษา รับการบ้าน ส่งการบ้านทางอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนานำเนื้อหาไว้ที่โฮมเพจของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาเข้า มาเรียนจากบ้านได้

On the problem


ปัญหาและกลยุทธ์ของเทคโนโลยีมัลติมีเดียในการสอนภาอังกฤษ 
(On The Problems and Strategies of Multimedia Technology in English Teaching)


1.ในศตวรรษที่ 21 เป็น ยุคของโลกาภิวัตน์ ซึ่งภาษาต่างประเทศต่างๆและภาษาอังกฤษมาเป็นอันดับแรกการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่และการพัฒนาของเทคโนโลยีมัลติมี เดียซึ่งเทคโนโลยีมัลติมีเดียนี้จะประกอบด้วย เสียงภาพและภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเข้ามามีบทบาทในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษยุคใหม่  มีบทบาทในเชิงบวกในการส่งเสริมกิจกรรมและความคิดริเริ่มของนักเรียนและผลการเรียนการสอนในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ
2.การวิเคราะห์ความจำเป็นของการใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียในการสอนภาษาอังกฤษ
2.1 การสร้างความสนใจในการเรียนให้แก่นักเรียน ปัจจุบันนี้ วิธีการสอนแบบดั้งเดิมและสภาพแวดล้อมซึ่งไม่เป็นที่นิยม ในขณะที่เทคโนโลยีมัลติมีเดียที่มีทั้งเสียงภาพและภาพเคลื่อนไหว ซึ่งให้ความรู้สึกที่เป็นจริงและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการเรียนและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆมากขึ้น
2.2 เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของนักเรียน การเรียนการสอนแบบดั้งเดิมที่ให้ระยะเวลาน้อยแก่นักเรียนที่จะเข้าใจโครงสร้างทางภาษาความหมายและหน้าที่ของภาษาและนักเรียนซึ่งเป็นผู้รับความรู้ แต่ก็ยากที่จะบรรลุเป้าหมายของการสื่อสารซึ่งครูจะเป็นผู้ให้คำแนะนำและเป็นผู้นำของรูปแบบการคิดและการสร้างแรงจูงใจ อารมณ์ ของนักเรียนเทคโนโลยีมัลติมีเดียแบบใหม่พยายามบูรณาการการเรียนการสอนนี้เพื่อสร้างแรงจูงใจนักเรียนเพิ่มขึ้น เช่นการใช้ power point ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสามารถกระตุ้นการคิดของนักเรียน การเปลี่ยนแปลงภาพและความชัดเจนของบทเรียนและกิจกรรมในชั้นเรียน เช่น การสนทนากลุ่ม การอภิปรายหัวข้อต่างๆและการโต้วาทีสามารถเปิดโอกาสในการสื่อสารในหมู่นักเรียน และระหว่างครูและนักเรียน การเรียนการสอนเทคโนโลยีมัลติมีเดียจะเป็นการส่งเสริมความคิดเชิงบวกของนักเรียนและทักษะการสื่อสารในการปฏิบัติทางสังคม
2.3 เพื่อขยายความรู้ของนักเรียนในการเข้าใจ วัฒณธรรมของตะวันตกมากยิ่งขึ้น
นัก เรียนสามารถนำเสนอข้อมูลได้มากมายจากแผ่นดิสก์มัลติมีเดียซึ่งครอบคลุมภาษา อังกฤษซึ่งผลของแผ่นดิสก์มัลติมีเดียที่ครอบคลุมภาษาอังกฤษจะมีความสมบูรณ์ กว่าตำรา และ จะแสดงถึงภูมิหลังของวัฒนธรรมที่หลากหลายและวัสดุภาษาที่ใช้ในชีวิตจริง สามารถจัดให้นักเรียนมีความรู้และนำมาเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันในหมู่นักเรียน
       2.4 เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ในการสอน
การเสริมสร้างการเรียนการสอนโดยใช้มัลติมีเดีย เป็นการเรียนรู้โดย "ครูเป็นศูนย์กลางห้อง เรียนที่มีขนาดใหญ่เกินไปจึงเกิดการจำกัดการพูดสื่อสารเพราะผู้เรียนไม่ สามารถที่จะพูดหรือใช้ภาษาได้อย่างเต็มที่รูปแบบการสอนแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ เน้นการเรียนการสอนเกี่ยวกับครูและการให้ข้อมูลที่ถูกจำกัด ซึ่งตรงกันข้ามเทคโนโลยีมัลติมีเดีย  นอกเหนือไปจากเวลาและการสร้างความชัดเจนภาพสภาพแวดล้อมที่เหมือนจริง  สำหรับ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วยกระตุ้นความคิดริเริ่มของนักเรียนและประหยัด เวลาในชั้นเรียนในขณะเดียวกันจะเพิ่มข้อมูลชั้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจะช่วย กระตุ้นความคิดริเริ่มของนักเรียนและประหยัดเวลาในชั้นเรียน
3. การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียเพื่อการสอนภาษาอังกฤษ 
3.1 บทบาทของครูลดลง ครูสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยครูนั้นบรรลุผลการเรียนการสอนที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ครูควรจะใช้ประโยชน์จะเทคโนโลยีนี้อย่างเต็มที่  แต่ถ้าหากครูนำมาใช้มากเกินไปก็จะทำให้บทบาทของครูลดลง และจะทำนักเรียนเกิดการจำกัดทางความรู้  ถึงแม้เทคโนโลยีมัลติมีเดียนี้มีประโยชน์มากก็จริงแต่ครูก็ควรนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม
3.2 สูญเสียการพูดและการสื่อสาร   การที่ครูใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียมากเกินไปจะนำให้นักเรียนสูญเสียการสื่อสาร  เพราะนักเรียนไม่มีโอกาสที่จะพูดสื่อสาร และจำทำให้การพูดสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนเลือนหายไป
3.3 ศักยภาพในการคิดของนักเรียนลดลง การสอนภาษาจะแตกต่างจากวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับการสอนภาษาไม่จำเป็นต้องมีการสาธิตการตามขั้นตอนต่างๆแต่การสอนภาษาจะเน้นการถาม ตอบ ระหว่างครูและนักเรียน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนนั้นได้ใช้ความคิด
3.4 ความคิดแบบนามธรรมถูกแทนที่โดยความคิดจินตนาการ ถ้าหากเราใช้สื่อมัลติมีเดียมากเกินไปก็จะทำให้ความสามารถของผู้เรียนทางด้านการเขียนลดลงเพราะจะถูกแทนที่ด้วยมัลติมีเดียที่มีทั้ง เสียงและภาพ เพียงแค่เราใช้แป้นพิมพ์  ดังนั้นเทคโนโลยีมัลติมีเดียเป็นเพียงเครื่องมือส่วนหนึ่งเท่านั้นที่จะคอยช่วยเหลือครู ไม่สามารถที่จะมาแทนบทบาทของครู
4.แนวทางแก้ไขและทางออกของปัญหา
4.1 ความสวยงามของซอฟแวร์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อผสมสามารถทำให้เกิดความสำเร็จในการเรียนการสอนได้แต่ครูพยายามอย่าให้คอมพิวเตอร์เข้ามาแทนบทบาทของครูได้ การแนะนำบทเรียนควรสื่อสารด้วยการพูด เพราะการพูดเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่สามารถปรับปรุงการฟังและการพูดของนักเรียนได้ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำได้
4.2 จอคอมพิวเตอร์ไม่สามารแทนที่กระดานดำได้  ครูบางคนใช้หน้าจอคอมพิวเตอร์แทนกระดานดำ ซึ่งจะป้อนข้อมูลซึ่งเป็นแบบฝึกหัด คำถาม คำตอบ และแผนการเรียนการสอนซึ่งไม่มีการนำมาเขียนบนกระดานดำหรือบอกหัวข้อบทเรียน การเขียนบนกระดานดำข้อมูลจะรวบรัดและชัดเจนกว่าและผู้สอนก็สามารถปรับและแก้ไขได้หากเขียนผิด
4.3 พาวเวอร์พ้อยไม่สามารถมาแทนที่ความคิดได้ ปัจจุบันเทคโนโลยีมัลติมีเดียส่วนใหญ่จะมีทั้ง เสียงและภาพเคลื่อนไหวซึ่งสามารถทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีกว่า  แต่ก็มีผลเสีย คือ  นักเรียนไม่ได้ใช้ความคิดและไม่สามารถสื่อสารได้ ดั้งนั้นเราควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดของตัวเองและได้พูดมากขึ้น
4.4 อุปกรณ์ดั้งเดิมไม่ควรถูกมองข้าม  มัลติมีเดียมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเรียนการสอนไม่สามารถแทนที่ด้วยเครื่องมืออื่น ๆได้ ดังนั้นครูควรจะเลือกสื่อที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของการสอนและบูรณาการการใช้มัลติมีเดีย
  4.5 สื่อเทคโนโลยีมัลติมีเดียไม่ควรใช้มากเกินไป เพราะการใช้สื่อมากเกินไปจะทำให้นักเรียนไม่ได้ใช้ความคิด 

♫ Applying Innovative Spirit to Multimedia Foreign Language Teaching


♫ Applying Innovative Spirit to Multimedia Foreign Language Teaching


การประยุกต์จิตวิญญาณแห่งนวัตกรรมลงในสื่อการสอนภาษาต่างประเทศ
(Applying Innovative Spirit to Multimedia Foreign Language Teaching)




1. บทนำ
         ในปัจจุบัน ผู้คนต่างตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และการฝึกฝนด้วยตัวผู้เรียนเองกลายเป็นหัวข้อที่คนกำลังให้ความสนใจ ด้วยพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สื่อเทคโนโลยีถูกใช้งานในการสอนมากขึ้น รวมถึงในการสอนภาษาอังกฤษเช่นกัน ตัวอย่างเช่นหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่คาดหวังการใช้สื่อและระบบเครือข่ายในการสอนรูปแบบใหม่ ขณะเดียวกัน ผู้เรียนก็ได้รับการแนะนำให้เรียนภาษาอังกฤษโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยมากขึ้น

2. สื่อการสอน และแนวคิดนวัตกรรมทางการศึกษา

         ธรรมเนียมการสอนภาษาอังกฤษแบบเก่าๆ นั้น จะพึ่งพาการผสมผสานระหว่างครูผู้สอน นักเรียน ชอล์ค กระดานดำ และเทปบันทึกเสียง ในขณะที่การสารโดยใช้สื่อ จะรวมเอา ครู นักเรียน คอมพิวเตอร์ และบทเรียนเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ตามทฤษฎีนี้ ผู้เรียนจะไม่เป็นแค่ผู้รับความรู้อยู่เฉยๆ แต่จะเป็นผู้สร้างที่กระตือรือร้นด้วย ดังนั้นผู้เรียนก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับนอกห้องเรียน มาสร้างเป็นความรู้ใหม่ๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้เรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียน

          ดังนั้น ครูควรนำบทเรียนมาใช้ดำเนินการแก้ปัญหาการศึกษา ขณะเดียวกันก็หลบเลี่ยงวิธีการสอนแบบยัดเยียดซึ่งปกตินิยมใช้กัน เปลี่ยนเป็นการจัดการชั้นเรียนอย่างเหมาะสม เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารของผู้สอนกับผู้เรียน จากแบบหุ่นยนต์ สั่ง ทำตาม สั่ง ทำตาม เป็นแบบครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของตัวผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอนอีกด้วย

3. การใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และการค้นพบรูปแบบการสอนภาษาใหม่ๆ
          ประโยชน์อย่างหนึ่งของการใช้สื่อในการสอนภาษาคือ เป็นการช่วยเพิ่มรูปแบบ วิธีการ และคำนิยามของการสอนภาษาให้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรในการสอนไปสู่ขั้นสูง จะช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จของการเรียนภาษา
3.1 ผลกระทบเชิงบวกของสื่อต่อการสอนภาษาต่างประเทศ
          อย่างแรกเลย สื่อการสอนจะช่วยเพิ่มคุณค่าของข้อมูลในการสอน และช่วยประหยัดเวลาจากการเขียนกระดานดำ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของชั้นเรียนอีกด้วย เวลาที่เพิ่มมาก็สามารถนำไปใช้ทบทวนบทเรียนได้
          ข้อสอง ด้วยการบูรณาการแสง สี เสียง และรูปภาพ เข้าด้วยกัน ไว้ในสื่อ จะช่วยยกระดับการสอน และรูปแบบการเรียนรู้ ทั้งที่ตัวผู้สอนเอง และตัวผู้เรียน สภาพแวดล้อมที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับผลตอบกลับในทันที เพื่อให้ทราบถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
          ข้อสาม ครูผู้สอนสามารถแสดงเนื้อหาบทเรียนได้ด้วยข้อมูลที่หลากหลาย เช่น ครูสามารถบันทึกรายการโทรทัศน์ลงในแผ่นดิส และให้นักเรียนชมเพื่อให้ทันความเป็นไปของโลก
          ข้อสี่ ข้อมูลมัลติมีเดียแบบหลายมิติ จะช่วยปลูกฝังการคิดแบบเชื่อมโยงให้แก่นักเรียน ความคิดของมนุษย์นั้นจะสะท้อน และเชื่อมโยงกัน ทั้งเสียง ภาพ ความรู้สึก และตัวเลข จะช่วยสร้างประสิทธิภาพของความคิดและความทรงจำของมนุษย์ ครูสามารถใช้สื่อสร้างความยืดหยุ่นของข้อมูล และเลือกใช้วิธีการสอน
          ข้อห้า การสอนโดยใช้สื่อจะให้แพลตฟอร์มสำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างครู กับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน ครูสามารถตอบปัญหาของนักเรียนในห้อง หรือเลือกที่จะตอบข้อซักถามต่อผ่านทางระบบออนไลน์ แม้กระทั้งตรวจข้อสอบของนักเรียนด้วย  ช่องทางนี้ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนติดต่อสื่อสารกันเองได้อย่างสะดวกสบายด้วย
3.2 ปัญหาและทางออกที่เกี่ยวข้องกับการสอนโดยใช้สื่อ
          นอกจากผลกระทบเชิงบวกของการใช้สื่อในการสอนแล้ว ข้อผิดพลาด และความเข้าใจผิดอาจเกิดขึ้นในการสอนได้  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฎในรูปแบบดังต่อไปนี้
          อย่างแรก การครอบงำในการถ่ายทอดความรู้ด้วยข้อมูลสมัยใหม่  บทเรียนแบบง่ายๆ ที่ครูใช้สอน แต่ขาดการใช้นวัตกรรม แบบเรียนนี้อาจง่ายต่อครูในการสอน แต่จะเป็นการละเลยต่อสถานะของผู้เรียน ด้วยเหตุนี้ การใช้สื่อจึงไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างที่ควร
          อย่างที่สอง ผลกระทบจากการใช้สื่อมากเกินไป เหมือนต้นไม้ที่ออกดอกมาก แต่ไม่มีผล เมื่อขาดการวิเคราะห์เนื้อหาของบทเรียน และออกแบบการสอนที่เหมาะสม ทำให้ผลการสอนไม่ออกมาอย่างที่คิด